วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อาคารอัจฉริยะ

อาคารอัจฉริยะ (Intelligent Building)

         อาคารอัจฉริยะ มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ ตั้งแต่ ตึกฉลาด (Smart Building) อาคารเทคโนโลยีชั้นสูง (High Tech Building, High Tech RealEstate) แต่ชื่อ ที่ฮิตที่สุด คงเป็น “Intelligent building” ซึ่งคนไทยนำมาแปลเป็นคำว่า อาคารอัจฉริยะ จริงๆแล้วคำว่า “Intelligent” ไม่ถึงขั้นฉลาดเป็นอัจฉริยะ แต่ เป็นแค่ ฉลาด-รู้จักคิด เท่านั้น คนไทยคงเห็นว่าไม่ขลังเลยยกฐานะให้เป็นอัจฉริยะเสียเลยให้ดูสูงส่งหน่อย ไม่แน่ว่าฝรั่งมาเห็น คนไทย ใช้คำแบบนี้ อาจ เปลี่ยนมาเรียกเป็น “Genius Architectural” ก็ได้
     ความหมายของอาคารอัจฉริยะมีหลายแง่ แต่คำจำกัดความง่ายๆที่เคยลงในนิตยสาร New York Time มีใจความว่า อาคารตึกฉลาดคือ“อาคารที่มี เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสมองส่วนกลาง มีระบบประสาทที่เป็นสายไฟฟ้าและสายสัญญาณ พร้อมอุปกรณ์ตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Sensors) อยู่ ตามบริเวณ ต่างๆ ทั่วอาคาร คอยเป็นหูเป็นตาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถตรวจสอบ,รายงานและควบคุมอุปกรณ์ของอาคารได้ตลอดเวลา คำจำกัดความอื่นๆ เช่น “อาคารอัจฉริยะคืออาคารที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า มี ความแตกต่าง จาก อาคารธรรมดา ในทุกๆแง่ มีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่รับรู้ ข้อมูลต่างๆ ของอาคาร โดยข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปยังระบบประมวลกลาง จะว่าไปแล้ว อาคารอัจฉริยะ จะต้องทำงานได้คล้ายสิ่งมีชีวิตคือมีการรับรู้และสามารถตอบสนองกับสิ่งเร้าทั้งจากภายในและภายนอก อีกทั้ง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีการใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั้นเอง

     แนวความคิดในการพัฒนาและออกแบบอาคารให้เป็นอาคารอัจฉริยะมีมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) โดยในทศวรรษที่ 80 เริ่มมีการนำระบบควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้ใน ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคาร แต่ในสมัยแรกระบบต่างๆมักถูกออกแบบให้ทำงานอย่างอิสระ ขาดการประสานและทำงานร่วมกันตัวอย่างของอาคารที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบที่เป็นอาคารอัจฉริยะในอดีตถึงปัจจุบันมีดังนี้


รูปที่ 1 อาคาร Lloyds Building ออกแบบโดย Richard Rogers Partnership


รูปที่ 2 อาคาร NEC Tower ออกแบบโดย Nikken Sekkei
รูปที่ 3 อาคาร Twin 21 Building อาคารนี้ตั้งอยู่ ณ.เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
            อาคารอัจฉริยะในยุคแรกๆเช่นอาคาร Lloyds นั้นเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากในยุคนั้น โครงการนี้ ประกอบด้วย ระบบ ควบคุมอาคาร แบบอัตโนมัติ ที่ใช้ เทคโนโลยี ใหม่ล่าสุด ในขณะนั้น มีระบบบริหารอาคาร (Building Management System) ชั้นยอด แต่สิ่งที่ขาดไปคือความสามารถในการประสานระบบทั้งหมดให้สามารถทำงานร่วมกัน ระบบส่วนใหญ่ในยุคนั้นถูกออกแบบให้ทำงานแยกกันเป็นอิสระ ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายที่สูงและเจ้าของอาคารไม่เต็มใจที่จะต้องลงทุนในระบบนี้ เนื่องจาก ไม่เห็น ความสำคัญ ในเรื่องนี้
 องค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะองค์ประกอบใหญ่ๆของอาคารอัจฉริยะนั้นต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ สี่ส่วนคือ
1. ระบบบริหารอาคาร (Building Management System)
2. งานระบบอาคาร (Building System)
3. ระบบโครงสร้างอาคาร (Building Structure)
4. ส่วนให้บริการลูกค้า (Tenants Service)

ประโยชน์ที่ได้จาการเป็นอาคารอัจฉริยะ     
            นอกจากการที่อาคารที่ได้รับการออกแบบเป็นอาคารอัจฉริยะจะได้ภาพพจน์ที่เป็นอาคารนำสมัยแล้ว ยังส่งผลให้อาคารนั้นๆมีจุดขายที่แตกต่างจากอาคารอื่นๆและจากการประเมินของ ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทยได้ประเมินว่า อาคารที่ติดตั้งระบบ BAS ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาคารอัจฉริยะนั้น สามารถทำให้ผู้ดูแลอาคาร ทำการทดสอบและปรับแต่งระบบย่อยต่างๆให้ทำงานสัมพันธ์กันนอกจากนั้นระบบนี้ยังช่วยประหยัดพลังงานได้ โดยปริมาณพลังงานที่ประหยัดได้จากการใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับการใช้งานในสภาพต่างๆในอาคาร
สรุป      
      ในการออกแบบอาคารทั้งหลายไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นอาคารอัจฉริยะหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่สถาปนิกและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องไม่ลืม คืออาคารนั้นต้องตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้อย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้การออกแบบโดยลืมวัตถุประสงค์หลักดังกล่าว และมุ่งเน้นการใช้แต่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด กลับกลายเป็นการสร้างความหายนะให้กับโครงการนั้นๆ มีผู้กล่าวว่า ในการเลือกใช้เทคโนโลยีใดๆให้กับอาคารอัจฉริยะ อย่าเลือกเพียงเพราะมันเป็น”เทคโนโลยีชั้นสูง”หรือ”เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด”แต่ให้เลือกใช้”เทคโนโลยีที่เหมาะสม”กับการใช้งาน จึงถือว่าได้ว่าเราได้ออกแบบอาคารอัจฉริยะในแนวทางที่ถูกต้อง


 รูปที่ 4 แสดงไดอะแกรมการทำงานต่างๆ ของระบบ




                                 




1 ความคิดเห็น:

  1. Building Automation and Control Systems(BAS)

    รับติดตั้งและเพิ่มเติมระบบอาคารอัตโนมัติ, ระบบประหยัดพลังงาน ทั้งอาคารใหม่อาคารเก่า โดยรับทำทั้งโรงแรม, โรงพยาบาล, อาคารสูง, และโรงงานอุตสาหกรรม...โดยทั่วไปอาคารอัตโนมัติเริ่มต้นด้วยการควบคุมของเครื่องกลไฟฟ้าและประปา (MEP) ยกตัวอย่างเช่นความร้อนระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศ (HVAC) รวมถึงการควบคุมของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์เช่น:

    air-conditioning (HVAC) system
    Chillers
    Boilers
    Air Handling Units (AHUs)
    Roof-top Units (RTUs)
    Fan Coil Units (FCUs)
    Heat Pump Units (HPUs)
    Variable Air Volume boxes (VAVs)

    นอกจากการควบคุมระบบไฟฟ้าแล้วระบบอื่นๆที่สามารถควบคุมได้ในอาคารเช่น:

    Power monitoring
    Security
    Close circuit video (CCTV)
    Card and keypad access
    Fire alarm system
    Elevators/escalators
    Plumbing and water monitoring

    ระบบบำบัดน้ำเสีย WasteWater Treatment Systems

    • รับเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ การดูแลระบบบำบำบัดน้ำเสียทุกชนิด

    • ติดตั้งระบบ Online Monitoring เช่น BOD, COD, pH, DO, Temp เป็นต้น

    • ติดตั้งระบบประหยัดพลังงาน เช่น Variable Speed Drive (VSD) เป็นต้น

    ระบบการจัดการคุณภาพอากาศ Air Quality Management Systems

    • รับออกแบบ ปรับปรุง และติดตั้งระบบระบายอากาศ
    • รับเป็นที่ปรึกษาในการควบคุมดูแลระบบการจัดการคุณภาพอากาศ

    • ติดตั้งระบบ Online Monitoring เพื่อตรวจวัดค่าต่างๆ

    • ปรังปรุงระบบประหยัดพลังงานในการจัดการคุณภาพาอากาศ

    บริษัท AHC Co.,Ltd. สายด่วนผู้เชี่ยวชาญ T. 0844196349 email: tsthai@gmail.com

    click ดูรูปภาพตามข้างล่าง....

    http://i285.photobucket.com/albums/ll50/water_torsak/bas_zpseb25551f.jpg

    ตอบลบ